
เอ๊ะ… หมายความว่ายังไงนะ: วิธีการบอกว่า “ไม่เข้าใจ” เป็นภาษาอังกฤษอย่างสุภาพ

การเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ อาจเป็นเรื่องยาก และหลาย ๆ ครั้งคุณก็อาจ ไม่เข้าใจ ในสิ่งที่คู่สนทนาพูดหรือไม่ก็เข้าใจสารที่อีกฝ่ายสื่อผิดไป ซึ่งความผิดพลาดเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากทักษะทางภาษาของคุณหรือไม่ก็เป็นเพราะอีกฝ่ายไม่ได้สื่อความอย่างชัดเจน
แล้วคุณจะรับมือกับเหตุการณ์เช่นนี้อย่างไรดี
ในบทความสัปดาห์นี้ Engoo จะมาแนะนำวลีสั้น ๆ ที่คุณสามารถนำมาใช้ในการสื่อสารกับคู่สนทนาว่าคุณไม่รู้หรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ที่อีกฝ่ายพูด
วลีสำหรับสถานการณ์ที่เป็นทางการ

I’m unclear on/about ~ (ฉันไม่ค่อยเข้าใจ ~)
ผู้ใช้ภาษาอังกฤษมักใช้คำว่า “clear” เพื่อแสดงว่าพวกเขาเข้าใจเนื้อหาอย่างชัดเจนและเห็นภาพ
แต่หากคุณนึกภาพของข้อมูลนั้นได้ไม่ชัดเจน หรือ unclear แสดงว่าคุณอาจจะไม่ค่อยเข้าใจเนื้อความดังกล่าวเท่าไหร่นัก ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้ภาษาอังกฤษจึงใช้ประโยคนี้ในการสื่อสารว่าพวกเขาไม่เข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายพูด
I’m sorry, I’m unclear on details of the project.
ขอโทษนะคะ ฉันยังไม่ค่อยเข้าใจรายละเอียดของโปรเจคนี้เท่าไหร่เลยค่ะ
I’m not clear on the last thing you said.
ฉันไม่ค่อยเข้าใจประเด็นสุดท้ายที่คุณพูดเลยค่ะ
Is anyone unclear on what we need to do today?
มีใครที่ไม่เข้าใจว่าวันนี้เราต้องทำอะไรไหมครับ
I’m not sure what you mean by ~ (ฉันไม่แน่ใจว่า ~ หมายถึงอะไร)
ใช้วลีนี้เมื่อคุณไม่เข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งในเนื้อความ
I’m not sure what you mean by “soon.” Do you need it today?
ฉันไม่แน่ใจว่าคำว่า “เร็ว ๆ นี้” หมายถึงเมื่อไหร่ คุณต้องการของภายในวันนี้หรือเปล่าคะ
I’m not quite sure what you mean by that. Could you explain, please?
ฉันไม่แน่ใจว่าสิ่งที่คุณพูดมาหมายถึงอะไร รบกวนคุณช่วยอธิบายหน่อยได้ไหมคะ
I’m (a little) confused about ~ (ฉันค่อนข้างงง/สับสน ~)
คุณสามารถพูดอย่างสั้น ๆ ได้ว่า “I’m confused.” แต่ทางที่ดีคุณควรบอกด้วยว่าคุณไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอะไร
I’m confused about the last part of your presentation.
ฉันฟังส่วนสุดท้ายในการนำเสนอของคุณแล้วค่อนข้างงงเลยค่ะ
I’m a little confused about what you need us to do.
ฉันค่อนข้างสับสนว่าคุณต้องการให้เราทำอะไรกันแน่คะ
I’m (a bit) lost. (ฉันค่อนข้างสับสน/ไม่เข้าใจ/ไม่แน่ใจ)
นอกจากคำว่า “lost” จะแปลว่า หลงทาง ได้แล้ว คุณยังสามารถใช้คำนี้ในการอธิบายว่าคุณสับสน ไม่เข้าใจ หรือไม่แน่ใจได้อีกด้วย
Honestly, I’m a little lost on our team’s goals. What should be our priority now?
จริง ๆ แล้วฉันยังไม่ค่อยเข้าใจเป้าหมายของทีมเราเลย ตอนนี้เราควรให้ความสำคัญกับเรื่องไหนก่อนคะ
I’m a bit lost. Can you explain this document to me?
ฉันไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ คุณช่วยอธิบายเอกสารนี้ให้ฉันฟังหน่อยได้ไหมคะ
วลีสำหรับสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการ

วลีต่าง ๆ ที่เราได้แนะนำไปข้างต้นเหมาะสมสำหรับการใช้งานในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
สำหรับวลีที่จะแนะนำต่อไปนี้เป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปในการตอบเมื่อไม่รู้หรือไม่แน่ใจในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการ โดยจะมีความเป็นกันเองมากกว่า และควรใช้งานอย่างระมัดระวัง
I don’t have the foggiest idea. (ฉันไม่รู้เลยสักนิด)
เราได้อธิบายไปในช่วงแรกของบทความแล้วว่าความชัดเจนเป็นภาพแทนของความเข้าใจ ดังนั้น fog หรือ หมอก ที่ทำให้สภาพแวดล้อมขมุกขมัว มองเห็นภาพรอบข้างได้ไม่ชัดจึงถูกใช้ในการสื่อถึงความสับสนและไม่เข้าใจ
I don’t have the foggiest idea what he meant by that.
ฉันไม่รู้เลยจริง ๆ ว่าเขาต้องการสื่ออะไร
วลีนี้มักถูกใช้งานในรูปย่อดังตัวอย่างต่อไปนี้


I don’t have a clue. (ฉันไม่รู้เลย)
วลีนี้ใช้ในการบอกว่าคุณไม่เข้าใจหรือไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เลยแม้แต่น้อย
I don’t have a clue where to find the information I need.
ฉันไม่รู้เลยว่าจะหาข้อมูลที่ต้องใช้ได้จากไหน
We don’t have a clue where to begin.
ฉันไม่รู้เลยว่าต้องเริ่มจากไหน
หากต้องการใช้วลีนี้ในลักษณะที่เป็นกันเองมากยิ่งขึ้น ก็สามารถพูดสั้น ๆ ได้ว่า “No clue.” ซึ่งโดยมากมักจะใช้ในการตอบคำถาม


I have no idea. (ฉันไม่รู้เลย)
ประโยคนี้มีความหมายและลักษณะการใช้งานคล้ายคลึงกับ "I have no clue."
Jasmine asked me to recommend some local restaurants, but I have no idea what to tell her.
จัสมินขอให้ฉันแนะนำร้านอาหารท้องถิ่นให้เธอ แต่ฉันไม่มีมีข้อมูลจะแนะนำเธอเลย


Don’t look at me. (อย่ามาถามฉันเลย/ ฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน)
แม้จะแปลตรงตัวได้ว่า “อย่ามามองฉันสิ” แต่ตามจริงแล้ววลีนี้ใช้ในการสื่อความหมายว่า “ฉันเองก็ไม่รู้คำตอบเหมือนกัน” โดยใช้ในการตอบคำถามเช่นเดียวกับ “No clue.”


วลีนี้มีความเป็นกันเองอย่างมาก ดังนั้น ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
Your guess is as good as mine. (ฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน)
วลีนี้หมายถึงผู้พูดเองก็ไม่ทราบคำตอบที่แน่ชัดเช่นเดียวกันกับผู้ถาม หากจะต้องตอบก็คงได้แต่คาดเดาเอาเท่านั้น


สรุป
อย่าปล่อยให้ความไม่เข้าใจกลายเป็นกำแพงในการเรียนรู้ภาษา การเอ่ยปากเมื่อไม่แน่ใจ ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณไขข้อสงสัย แต่ยังเป็นการเปิดประตูสู่การสนทนาที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และสำหรับใครที่ยังกังวลว่าจะเริ่มต้นถามอย่างไร... เตรียมพบกับ 10 วิธีในการขอคำอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องที่ฟังแล้วไม่เข้าใจอย่างสุภาพที่เราจะนำมาฝากในบทความหน้าบน Engoo Blog ห้ามพลาดนะคะ